วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2558

บทที่1ประวัติและความสําคัญของพระพุทธศาสนา

พระพุทธศาสนามีหลักการและทฤษฎีที่เป็นสากล คือ หลักอริยสัจ 4 หมายถึง หลักความจริงอันประเสริฐของชีวิตมี 4 ประการคือ
 1. ทุกข์ (ความไม่สบายกายและใจ) สอนว่า  “  ชีวิต และโลก นี้มีปัญหาอะไรบ้าง
 2. สมุทัย (สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์) สอนว่า  ปัญหาต่าง ๆ  ที่เกิดขึ้นมีสาเหตุ  มิได้เกิดขึ้นมาลอย ๆ
 3. นิโรธ (วิธีการดับทุกข์) สอนว่า  มนุษย์มีศักยภาพในตัวเอง ที่จะสามารถแก้ปัญหาได้เอง
 4. มรรค (แนวทางการปฏิบัติให้ถึงการดับทุกข์) สอนว่า การแก้ปัญหาต้องใช้ปัญญา” (ความรู้และความเพียรพยายาม)

อริยสัจ 4 เป็นหลักความจริงที่มีหลักการเป็นที่ยอมรับสอดคล้องกับหลักวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นหลักสากลยอมรับทั่วไปอ่านต่อ

บทที่2พุทธประวัติและชาดก

 พุทธประวัติ

๑.๑  ผจญมาร  เมื่อพระมหาสัตว์  ทรงรับหญ้ากุสะ ๘กำจากพราหมณ์ชื่อโสตถิยะแล้ว  ทรงนำไปปูลาดเป็นอาสนะที่โคนต้น อัสสัตถะ” (ต่อมาเรียกต้นพระศรีมหาโพธิ์) ประทับนั่งผินพระพักตร์ไปทางแม่น้ำเนรัญชรา ทรงตั้งสัตยาธิฐานว่า ตราบใดที่ยังไม่บรรลุด้วยความพยายามของบุรุษ  ด้วยเรี่ยวแรงองบุรุษ  แม้ว่าเลือดและเนื้อจะเหือดหายไป เหลือแต่หนังและกระดูกก็ตามทีเราจะไม่ลุกขึ้นจากอาสนะนี้พญามารร้องบอกให้พระองค์เสด็จลุกขึ้นจากอาสนะว่า บัลลังนี้เป็นของข้า ท่านจงลุกขึ้นเดียวนี้อ่านต่อ

บทที่3วันสําคัญทางพระพุทธศาสนาและศาสนพิธี

วันสำคัญในพระพุทธศาสนา เป็นวันที่มีเหตุการณ์ที่สำคัญ อันเนื่องด้วยพระรัตนตรัย คือพระพุทธเจ้า พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า เหตุการณ์ที่สำคัญดังกล่าว เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่พุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่าอ่านต่อ

บทที่4หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

พระรัตนตรัย คือแก้วอันประเสริฐ (ของชาวพุทธ) 3 ประการ ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
พระพุทธ     คือ ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เองแล้วสอนให้ผู้อื่นรู้ตาม
พระธรรม     คือ  คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

พระสงฆ์     คือ ผู้ปฏิบัติชอบตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วสอนผู้อื่นให้ประพฤติปฏิบัติตามอ่านต่อ

บทที่5พระไตรปิฏกและพุทธศาสนสุภาษิต

พระไตรปิฎก : โครงสร้าง ชื่อคัมภีร์และสาระสังเขปของพระสุตตันตปิฎก 

  พระสูตร หรือที่เรียกในทางวิชาการว่า พระสุตตันปิฎก เป็น 1 ใน 3 ปิฎก มีลักษณะที่แตกต่างออกไปจากพระวินัยปิฎกและพระอภิธรรมปิฎก คือ เป็นการแสดงพระธรรมเทศนาที่มี บุคคล เหตุการณ์และสถานที่เข้ามาประกอบที่เรียกว่า บุคลาธิษฐาน โดยที่พระพุทธเจ้าทรงปรารภบุคคลเป็นต้น แล้วทรงถือโอกาสแสดงธรรมเทศนา ที่มีลักษณะเป็น ธรรมาธิษฐานบ้าง แต่ก็มีเป็นส่วนน้อยอ่านต่อ

บทที่6 การบริหารจิตเจริญปัญญา

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งการปฏิบัติ เน้นเรื่องการฝึกจิตเป็นสำคัญ การบริหารจิตและเจริญปัญญาเป็นวิธีการดูแลและทำนุบำรุงจิตใจของ มนุษย์ให้มีความบริสุทธิ์ปราศจากกิเลสมาครอบงำให้รู้จักละอายและเกรงกลัวต่อ บาปกรรม โดยใช้วิธีการฝึกตามหลักสติปัฏฐาน ๔ จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติมีสติสัมปชัญญะดีเลิศและมีจิตมั่นคงได้อย่างรวดเร็วอ่านต่อ

บทที่7พุทธสาวก พุทธสาวิกา และชาวพุทธตัวอย่าง

พระสารีบุตร 

        ๑. ประวัติ  พระสารีบุตร เป็นชาเมืองนาลันทา  กรุงราชคฤห์โดยกำเนิด  บิดาของท่านมีนามว่า วังคันตพราหมณ์ และมารดานามว่า นางสารีรพราหมณี ท่านมีนามเดิมว่า อุปติสสะ
        ๒. คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง
             ๒.๑ เป็นผู้มีปัญญาหลักแหลม พระสารีบุตรเป็นผู้มีปัญญาหลักแหลม สามารถแสดงธรรมหักล้างความคิดเห็นผิด และทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้ความเข้าใจได้แจ่มแจ้งอ่านต่อ

บทที่8หน้าที่และมารยาทชาวพุทธ

   ชาวพุทธ  คือ  ผู้ที่เคารพเลื่อมใสและศรัทธาในพระรัตนตรัย  มีหน้าที่ในการศึกษาและปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา  ในความเคารพนับถือต่อพระรัตนตรัย  เอาใจใส่ทำนุบำรุง  และบำเพ็ญประโยชน์ต่อวัดและพระสงฆ์  นอกจากนี้ยังต้องปฏิบัติตนอย่างมีมารยาท  ที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อพระสงฆ์  และนำแนวทางการปฏิบัติตนของพระสงฆ์มาเป็นแบบอย่างที่ดีงามในการดำเนินชีวิตอ่านต่อ

บทที่9ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาสนา

ความหมายของศาสนา
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ได้ให้คำนิยามของคำว่า ศาสนา ไว้ว่า ลัทธิความเชื่อถือของมนุษย์อันมีหลัก คือ แสดงกำเนิดและความสิ้นสุดของโลก เป็นต้น อันเป็นไปในฝ่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปในฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่งอ่านต่อ



บทที่10ศาสนาสำคัญในประเทศไทย

    แม้คนไทยส่วนใหญ่จะนับถือพระพุทธศาสนา  แต่ประเทศไทยเป็นดินแดนเสรี  ประชาชนได้รับสิทธิที่จะนับถือศาสนาใดๆ  ก็ได้ตราบเท่าที่ไม่ไปละเมิดสิทธิของผู้อื่น
   อย่างไรก็ตาม  ความแตกต่างทางศาสนาไม่เคยก่อให้เกิดปัญหาที่ร้ายแรงในประเทศไทยศาสนิกชนไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด  ต่างก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสงบสุขอ่านต่อ